เมนู

โดย พระเจ้ายูกราติเดส (Eukratides) ซึ่งอาจจะเป็นกษัตริย์องค์แรกในบรรดากษัตริย์ที่เข้า
ครองดินแดนแถบฝั่งแม่น้ำอินดัส (Indus) อาจจะเป็นไปได้ว่า พระนามสองพระนาม (ที่แตกต่าง
กัน) นั้น หมายถึงบุคคลคนเดียวกัน คือ พระนามหนึ่งแบบภาษาบาลี (หรือบางทีก็อาจ
จะเป็นพระนามภาษาท้องถิ่นที่ผู้แต่ง (มิลินทปัญหา) นำมาใช้ และอีกพระนามหนึ่งเป็นภาษา
พื้นเมือง (ของพระองค์เอง) และก็อาจเป็นได้ว่า เหรียญ (ของพระเจ้าเมนันเดอร์) นั้น สร้างขึ้น
เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พวกกรีกเข้ายึดครอง อินดัส ได้ ถ้าเป็นจริงดังกล่าวมานั้น การที่
เข้าตั้งชื่อเกาะอันเป็นที่สร้างเมืองนั้นว่า "อลสันทะ" (คือ อเล็กซานเดรีย) นั้น คงไม่ได้มุ่งถึง
ตัวเกาะเป็นสำคัญ แต่ดูจะเพื่อเป็นการแสดงให้รู้ว่า เกาะนี้พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ค้นพบก็จริง
แต่ว่ามันกลายเป็นที่สำคัญขึ้นมา ก็เพราะพวกเขาได้ยึดครองไว้นั่นเอง(1)
นางฮอนเนอร์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเจ้ามิลินท์ไว้ว่า พระเจ้า
มิลินท์หรือเมนันเดอร์นั้น เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นชาวกรีก และเป็นผู้ที่
มีตัวตนอยู่จริง ๆ ด้วย แม้ว่าจะกำหนดสมัยของพระองค์ไม่ได้อย่างแน่นอนก็ตาม แต่นัก
ประวัติศาสตร์ปัจจุบันก็กำหนดว่า พระองค์มีพระชนม์อยู่ในราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตศก
วินเซนติ สมิธ (Vincente Smith) กำหนดปีรัชกาลของพระองค์ว่า ราว 160-140 ก่อน ค.ศ.
ลามอตเต (Lamotte) ว่าราว 163-150 ปี ก่อน ค.ศ. นาเรน (Narain) ว่าราว 155-130 ปี
ก่อน ค.ศ. ส่วน อา. ฟอน กุตชมิด (A. von Custchmid)ว่า ราว 125-95 ปีก่อน ค.ศ.
เรฟสัน (Rapson) ซึ่งเห็นพ้องกับ กุตชมิด ว่า ยูกราติเดส (Eukratider) ครองราชย์ราว 175 ปี
ก่อน ค.ศ. และเมนันเดอร์กับยูกราติดส์ นั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นบุคคลสมัยเดียวกัน
ชื่อของพระเจ้ามิลินท์นั้นในคัมภีร์บาลีอื่น ๆ นอกจากมิลินทปัญหาแล้วไม่ค่อยจะมีกล่าวถึง
ในชินกาลมาลีปกรณ์ที่แต่เป็นภาษาบาลีในประเทศไทย โดยพระเถระไทย (ชาวเชียงราย ชื่อ
รัตนปัญญาเถระ) เมื่อ พ.ศ. 2060 กล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ประสูติเมืองสาคละ ในประเทศ
อินเดีย ในขณะที่พระเจ้ากูฏกัณณติสสะกำลังเสวยราชย์อยู่ที่เมือง อนุราธบุรี ระหว่าง พ.ศ. 560-
561 ถึง 582-583 นายริจิแนล เลอ เมย์ (Reginald le May) ซึ่งอ้างถึงชินกาลมาลีในหนังสือ
"พุทธศิลปในสยาม" ของเขาก็กล่าวว่า ชินกาลมาลีนั้นเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงและเรื่องราวเชื่อถือ
ได้ แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดให้พระเจ้าเมนันเดอร์มีพระชนม์ยืนยาวมาถึงสมัยพระเจ้ากูฏ
กัณณติสสะ (แห่งลังกา) ตามหลักฐานที่กล่าวแล้ว เพราะกษัตริยองค์นี้ปรากฏว่าได้เสวยราชย์เมื่อ
500 ปีหลังพุทธปรินิพพานแล้ว (ราว 438 ปีก่อน ค.ศ.) ชินกาลมาลีคงจะถือปีรัชกาล
ของพระเจ้ามิลินท์ตามข้อความพบในมิลินทปัญหาหน้า 3 ซึ่งเป็นการถือเอาความหมายตาม

(1) Sacred Book of the East Vo1. xxxv, p.xxii-xxiii.